วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Tablet


แท็บเล็ท (Tablet)



ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้คุณสามารถพกติดตัวได้โดยวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนสมุดหรือกระดาษ
"แท็บเล็ต - Tablet" ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้, หินชนวน) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลายบริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet"
 
ในปัจจุบันถูกพัฒนาให้มีความสามารถใกล้เคียงเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเลยทีเดียว เครื่องแท็บเล็ตพีซี มีขนาดไม่ใหญ่มากสามารถถือได้ด้วยมือเดียวและน้ำหนักเบากว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค

แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)

"แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน

แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือ แท็บเล็ต - Tablet

"แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม" ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด - iPad" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" เครื่องแรก
 

ความแตกต่างระหว่าง "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet computer" และ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC"

เริ่มแรก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" จะใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 ของ Intel เป็นพื้นฐานและมีการปรับแต่งนำเอาระบบปฏิบัติการหรือ OS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ Personal Computer - PC มาทำให้สามารถใช้การสัมผัสในการทำงานได้ ตัวอย่างเช่น Windows 7 หรือ Ubuntu Linux แทนที่จะใช้แป้นพิมพ์คีย์บอร์ดหรือเมาส์ และเนื่องจากเป็นการรวมกันระหว่างระบบปฏิบัติการ Windows และหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ของ Intel ทำให้มีคนเรียกกันว่า "Wintel"
 
ต่อมาในปี 2010 ได้เกิดแท็บเล็ตที่แตกต่างจาก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ขึ้นมาโดยไม่มีการยึดติดกับ Wintel แต่ไปใช้ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนนั่นก็คือ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต - Tablet" ซึ่งจะใช้หน้าจอแบบ capacitive แทนที่ resistive ทำให้สามารถสัมผัสโดยการใช้นิ้วได้โดยตรงและสัมผัสพร้อมกันทีละหลายจุดได้หรือ multi-touch ประกอบกับการใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM แทนซึ่งสถาปัตยกรรม ARM นี้ทำให้แท็บเล็ตนั้นมีการใช้งานได้ยาวนานกว่าสถาปัตยกรรม x86 ของ Intel หลายๆคนคงจะรู้จักแท็บเล็ตตัวนี้กันเป็นอย่างดีนั้นก็คือ ไอแพด (iPad) นั้นเอง
 

Post-PC operating systems

ในปัจจุบันมีความนิยมในการใช้งาน Tablet สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้เกิดการแข่งขันและการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับ tablet ขึ้นมาเฉพาะโดยไม่ได้ตามเทคโนโลยีของ PC หรือ PDA เหมือนในอดีต ไม่ว่าจะเป็น สถาปัตยกรรมด้าน Hardware หรือ Software ต่างมีผู้ผลิต OS (Operating System) ของตนเองมาแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็น ค่าย Windows เองก็พยายามจะรักษาตลาดเดิมของ PocketPC เอาไว้ นอกจากนี้ Apple ผู้ผลิต iPad ซึ่งเป็นผู้ที่สร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการใช้งาน Tablat อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ก็มี iOS ที่พัฒนาสำหรับ Tablat โดยเฉพาะและมีจุดแข็งในการผลิตฮาร์ดแวร์เองทำให้ OS สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้คู่แข่งสำคัญอย่าง Google ก็มี Android OS ที่มีจุดแข็งในการเปิดให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อื่นๆ สามารถนำ Android OS ไปใช้ได้กับฮาร์ดแวร์ของตน นอกจากนี้ก็ยังมีผู้ผลิตหลายราย ที่พยายามสร้าง OS ของตนขึ้นมาเพื่อใช้งานกับ Tablat ของตนเอง เช่น Blacberry Tablet OS ที่อิงระบบ QNX หรือ HP ที่พยายามสร้าง webOS เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาด แต่ทำไม่สำเร็จ
อย่างไรก็ตาม Tablat ยังมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ในอนาคต Tablat จะเป็นมากกว่ากระดานชนวนอิเล็กทรอนิกส์ แต่จะบรรจุเทคโนโลยีมากมาย อีกทั้งความสามารถด้านการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ความสามารถของ Tablat เปิดกว้างมายิ่งขึ้น

ที่มา http://www.mict.go.th/ewt_news.php?nid=5282
        15/02/2556

Social media


Social Media คืออะไร



สำหรับในยุคนี้ เราคงจะหลีกเลี่ยงหรือหนีคำว่า Social Media ไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหน ก็จะพบเห็นมันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลายๆ คนก็อาจจะยังสงสัยว่า “Social Media” มันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะมารู้จักความหมายของมันกันครับ
คำว่า “Social” หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหม่มากในปัจจุบัน
คำว่า “Media” หมายถึง สื่อ ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น
ดังนั้นคำว่า Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูดง่ายๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โ้ต้ตอบกันได้นั่นเอง
พื้นฐานการเกิด Social Media ก็มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ

Facebook -เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking




ที่มา http://krunum.wordpress.com/2010/06/02/social-network/
         15/02/2556

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Video Conference



คือระบบการติดต่อสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลภาพ และข้อมูล เสียง ระหว่างจุดต่อจุดหรือจุดต่อหลายๆจุดโดยผ่านระบบสื่อสาร ซึ่งจะเป็นลักษณะของการ
โต้ตอบซึ่งกันและกันแบบสองทางหรือพูดง่ายๆก็คือระบบประชุมทางไกลที่ผสมผสาน
ระหว่างภาพและเสียง ให้เปรียบเสมือนมีการประชุมอยู่ในห้องเดียวกัน


วิดีโอมีลักษณะการส่งสัญญาณภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง สัญญาณภาพที่ส่งมีลักษณะเป็น เฟรม (หนึ่งเฟรมเท่ากับหนึ่งภาพ) ในวินาทีหนึ่งต้องทำให้ได้ มากกว่า 17 เฟรม จึงจะเห็นเป็นภาพต่อเนื่อง ระบบโทรทัศน์ในประเทศไทยส่ง 25 เฟรมต่อวินาที ส่วนระบบ NTSC ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา ส่ง 30 เฟรมต่อวินาที

หัวใจในการทำงานของระบบ Video Conference คือ Codec เป็นคำย่อมาจาก Code และ Decode คือ การเข้ารหัสและการถอดรหัสจากข้อมูลภาพที่มีจำนวนเส้น 625 เส้น 25 เฟรมต่อวินาที (กรณีสัญญาณ PAL ) เมื่อแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วจะต้องเปลี่ยนกลับเป็น Pixel หรือจุดสี ตามมาตรฐาน CCITT H.261 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำคัญที่กำหนดในเรื่องการเข้ารหัส กำหนดจำนวนเส้นใช้เพียง 288 เส้น แต่ละ เส้นมีความละเอียด 352 pixel นั่นหมายถึงจะมีความละเอียดเท่ากับ 352x288 pixel เรียกฟอร์แมต การแสดงผลนี้ว่า Common Intermediate format และยังยอมให้ใช้ความละเอียดแบบหนึ่งในสี่ คือลดจำนวนเส้นเหลือ 144 เส้น และ pixel หรือ 176 pixel ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของจอภาพ ถ้าใช้จอภาพขนาดเล็ก จำนวน pixel ก็ลดลงไปได้
ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีการรับส่งข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต การส่งวิดีโอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ย่อมเป็นไปได้ แต่เนื่องจากการส่งแพ็กเก็ตไอพีเป็นแบบดาต้าแกรม ดังนั้นจึงไม่รับรองช่วงระยะเวลาการเดินทางของข้อมูล เทคนิคการใช้วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ จึงต้องมีการสร้างบัฟเฟอร์และแก้ปัญหาที่แต่ละแพ็กเก็ตมายังปลายทางไม่พร้อมกัน เรียกปัญหานี้ว่า jitter

ที่มา http://161.200.184.9/webelarning/elearning%20Computer53/video%20conference/Page/page-02.html 
15/02/2556

Webquest


Web Quest


      (Dodge,1997)  Web Quest คือกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแสวงรู้ โดยมีฐานสารสนเทศที่ผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์ด้วย บนแหล่งต่างๆบนอินเทอร์เน็ต และอาจเสริมด้วยระบบการประชุมทางไกล โดยมีเป้าหมายที่จะนำแหล่งความรู้ที่หลากหลายบนเครือข่าย World Wide Web มาใช้เป็นฐานในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยผู้เรียนแสวงรู้จากแหล่งความรู้ที่จัดไว้อย่างเป็นระบบ Web Quest ได้รับการออกแบบที่จะใช้เวลาของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้สารสนเทศมากกว่าการแสวงหาสารสนเทศ
     (วสันต์ อติศัพท์, 2547) ได้ให้คำจำกัดความภาษาไทยว่า “บทเรียนแสวงรู้บนเว็บ” ซึ่งหมายถึงเว็บเพื่อการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถที่จะสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
     ความหมายโดยรวม Web Quest  คือเป็นการใช้แหล่งความรู้ที่มีอยู่มากมายบนระบบอินเทอร์เน็ตมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้สอนในรูปแบบของกิจกรรมและสมมติฐาน โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการ ฝึกนิสัยและทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กระบวนการทำงานกลุ่มและการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ บนระบบอินเทอร์เน็ต”

ประเภทของ Web Quest
1. Web Quest ระยะสั้น (Quest Short Term Web Quest ) มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนแสวงหาและบูรณาการความรู้ในระดับเบื้องต้น ที่ผู้เรียนจะเผชิญและสร้างประสบการณ์กับแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่สำคัญจำนวนหนึ่งและสร้างความหมายให้กับประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเอง Web Quest ประเภทนี้ใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 1 - 3 คาบเรียน
2. Web Quest ระยะยาว (Longer Term Web Quest) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระดับการคิดขั้นสูงของผู้เรียน ซึ่งเมื่อจบบทเรียนแล้ว ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์องค์ความรู้ที่ลึกซึ้งและถ่ายโอนไปใช้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งได้ และสามารถแสดงออกถึงความเข้าใจในเนื้อหานั้นด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมา อาจจะอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือในรูปแบบอื่นก็ได้ โดยทั่วไป Web Quest แบบนี้จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 สัปดาห์ถึง 1 เดือน

หลักการออกแบบ Web Quest
หลักการสำคัญในการออกแบบ Web Quest เพื่อส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนระดับต่างๆดังนี้
1. จัดหาหัวเรื่องที่เหมาะสมกับการสร้าง Web Quest จูงใจผู้เรียน  เพราะ Web Quest เป็นงานสร้างสรรค์ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสภาพแวดล้อมใหม่ด้วยการประกอบกิจกรรมเองเป็นหลัก
2. จัดหาแหล่งสนับสนุนแหล่งการเรียนรู้ Web sites ต่างๆ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญที่จะต้องได้รับการจัดหา คัดสรร และจัดหมวดหมู่เป็นอย่างดี ผ่านการกลั่นกรองว่ามีเนื้อหาที่สอดคล้องต่อหลักสูตรและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
3. ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน การสร้างสรรค์กิจกรรมใน Web Quest นั้นมีสิ่งที่ควรคำนึงต่อไปนี้
    - เน้นการใช้กิจกรรมกลุ่ม ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันประกอบกิจกรรม ร่วมกันคิด ร่วมประสบการณ์และร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานออกมา ทั้งในชั้นเรียน ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ที่บ้าน
   - การจูงใจผู้เรียน ด้วยการให้ผู้เรียนเข้าไปมีบทบาทในบทเรียนในรูปของบทบาทสมมติให้มากที่สุด ไม่ว่าในฐานะนักวิทยาศาสตร์ นักสืบ ผู้สื่อข่าว หมอ ฯลฯ สร้างสถานการณ์ให้น่าสนใจ เร้าใจให้พวกเขาติดตาม ร่วมกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉง
   - การพัฒนาในรูปแบบรายวิชาเดี่ยวหรือแบบสหวิทยาการ ในรูปแบบแรกอาจจะดูง่ายในการพัฒนาแต่อาจจะจำกัดการเรียนรู้ สร้างประสบการณ์ชีวิตในบริบทจริง ในขณะที่รูปแบบหลังส่งเสริมประเด็นนี้ได้ดีกว่า และสร้างประสบการณ์ในเชิงลึกแก่ผู้เรียน
4. พัฒนาโปรแกรม สามารถทำได้ทั้งด้วยการเขียนโปรแกรมเพื่อสร้าง web page ด้วยตนเอง ด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปประเภท FrontPage, Dream Weaver, Composer, etc. หรือการจัดหาต้นแบบ(Template) ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งทำให้ง่ายเพราะเพียงแต่ออกแบบกิจกรรมและเอาเนื้อหาใส่เข้าไป ซึ่งจะลดปัญหาด้านความจำกัดเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงไป ผู้ที่ต้องการต้นแบบนี้สามารถหาได้จาก websites ต่างๆ ได้ไม่ยากนัก
5. ทดลองใช้และปรับปรุง ด้วยการหากลุ่มเป้าหมายมาทดลองใช้บทเรียน ดูจุดดีจุดด้อยของบทเรียนและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 

ที่มา http://www.gotoknow.org/posts/301312 
       15/02/2556

e book


ความหมายของ e-Book


        “อีบุ๊ค” (e-book, e-Book, eBook, EBook,) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์        คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง E-Book มีอยู่หลายโปรแกรมแต่ที่นิยมใช้กันมาในปัจจุบันได้แก่1. โปรแกรมชุด Flip Album
2. โปรแกรม 
DeskTop Author
3. โปรแกรม 
Flash Album Deluxe
     ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน 
e-Book 
ด้วย มิฉะนั้น แล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย
1.1 โปรแกรมชุด 
Flip Album ตัวอ่านคือ FlipViewer

1.2 โปรแกรมชุด 
DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
1.3 โปรแกรมชุด 
Flash Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player                      
ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) กับหนังสือทั่วไป
  ความแตกต่างของหนังสือทั้งสองประเภทจะอยู่ที่รูปแบบของการสร้าง การผลิตและการใช้งาน เช่น
1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ
2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถสร้างให้มี
    ภาพเคลื่อนไหวได้
3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้
4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล 
    (
update)
ได้ง่าย
5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (
links) 
ออก
   ไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้
6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ 
    ประหยัด
7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์
    สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด
8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม
 
 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยโปรแกรม ผ่านทาง
   หน้าจอคอมพิวเตอร์
9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถ
   สั่งพิมพ์ (
print)
ได้
10. หนังสือทั่วไปอ่านได้1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกัน 
    ได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต)
11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกได้ครั้งละ
    จำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ใน 
Handy Drive หรือ CD

12. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม       
โครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book Construction)
     ลักษณะโครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็ คือ กระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือ    
สรุปโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย
1. หน้าปก (Front Cover)

 หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่า หนังสือ
เล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง

2. คำนำ (Introduction)
       
หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น  
3. สารบัญ (Contents)
      
หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้างอยู่ที่หน้าใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้  
4. สาระของหนังสือแต่ละหน้า หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่มประกอบด้วย   
            • หน้าหนังสือ (Page Number)
            
• ข้อความ (Texts)
            
• ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff
            
• เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi
            
• ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg,   .wav,   .avi
            • จุดเชื่อมโยง (Links) 
5. อ้างอิง หมายถึง แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง อาจเป็นเอกสาร ตำรา หรือ เว็บไซต์ก็ได้
6. ดัชนี หมายถึง การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ ที่อยู่ภายในเล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษร
    ให้สะดวกต่อการค้นหา พร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง
7. ปกหลัง หมายถึง ปกด้านหลังของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนท้ายเล่ม


ที่มา http://www.oknation.net/blog/freeday888/2009/08/25/entry-1
        15/02/2556

Blog





บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง  WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก)  = BLOG  คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา  การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์
ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ
บางคนมองว่าการเขียนบล็อก ก็คือการเขียนไดอารี่ออนไลน์ แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น คุณเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น
บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจ ของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย
ลักษณะของสื่อใหม่

  • กลุ่มผู้รับสารจะมีขนาดเล็ก
  • มีลักษณะเป็น Interactive
  • ผู้ส่งสาอาจไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องรายได้ มีแรงจูงใจด้านอื่น เช่น ความมีชื่อเสียง, ความชอบส่วนตัว
  • เป็นการสื่อสารแบบเปิด ผู้รับ ผู้ส่ง มีความเท่าเทียมกัน
  • เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ หลากหลาย
 เป็นเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง ที่มีระบบจัดการให้เราสามารถเขียนเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว ข่าว หรือบทความเฉพาะด้านต่างๆ ได้อย่างสะดวก   (ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ต้องทำหน้าเว็บเพจทีละหน้า และทำลิงค์เชื่อมโยงแต่ละหน้าเอง) โดยเนื้อหาที่เราเขียนแต่ละครั้ง จะถูกเรียงลำดับตามเวลา เรื่องที่เราเขียนล่าสุดจะถูกแสดงอยู่ด้านบนสุดของหน้า Blog    เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมสามารถติดตามอ่านเรื่องราวที่เรา Update ใหม่ได้ง่าย
Blog อาจเขียนโดยคนเพียงคนเดียว หรือเป็นกลุ่มช่วยกันเขียนก็ได้  ผู้ที่เขียน Blog หรือเจ้าของ Blog เรียกว่า Blogger
เรื่องหรือบทความที่เขียนมักเป็นเรื่องเจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ก็อาจจะมีเรื่องอื่นปะปนบ้าง แล้วแต่เจ้าของ Blog     แต่ทางที่ดีควรจะให้ผู้อ่านที่เข้ามาทราบว่า Blog ของเรานั้นเน้นเนื้อหาเรื่องใด ถ้าเรื่องที่เขียนใน Blog มีความหลากหลาย เรายังสามารถจัดหมวดหมู่ให้กับเรื่องที่เราเขียนได้อีกด้วยค่ะ
อย่างที่ enjoyday ก็เป็น Blog ที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนเรื่องเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์เป็นหลัก แต่ก็อดไม่ได้ที่จะนำเสนอเรื่องอื่นๆ ด้วย
.
นอกจากจะใช้ Blog เพื่อเขียนเรื่องหรือบทความต่างๆ แล้ว เรายังสามารถใช้ Blog เพื่อนำเสนอผลงานก็ได้ ในปัจจุบันบางบริษัทก็หันมาใช้ Blog ทำเป็นเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อลดความเป็นทางการลง
จุดเด่นของ Blog คือ การที่เราสามารถแสดงความคิดเห็นของเราใส่ในบทความที่เราเขียน และเปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้แสดงความคิดเห็น หรือติชม (Comment) ได้
ทำให้เจ้าของ Blog สามารถรับรู้ได้ว่าคนอ่านชอบเรื่องราวหรือบทความที่เขียนไปหรือไม่
.
เริ่มต้นทำ Blog ได้อย่างไร?
เราสามารถที่จะทำ Blog ฟรีได้  โดยขอใช้บริการจากเว็บไซต์ผู้ให้บริการ Blog ต่างๆ โดยต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อน แล้วผู้ให้บริการจะแนะนำวิธีการใช้งานให้เราเอ

ที่มา http://www.enjoyday.net/what-is-blog.html
        15/02/2556

e-Learning

ความหมายของ e-Learning




    e-Learning (Electronic learning) คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    ความหมายของ E-learning ถูกตีความต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน แต่มีส่วนที่เหมือนกันคือใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนาตลอดเวลา ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สำหรับผู้เขียนให้ความหมายของ E-learning ว่าเป็น "การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล"
    คำว่า E นั้นย่อมาจาก Electronic ส่วนคำว่า learning มีความหมายตรงตัวว่าการเรียนรู้ เมื่อนำมารวมกันหมายถึงการเรียนรู้โดยใช้ electronic หรือ internet เป็นสื่อ คำที่มีความหมายใกล้เคียงเช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนบนเว็บ (WBI = Web-based Instruction)
    #1 อีเลินร์นิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนา และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีตลอดเวลา
    #2 อีเลิร์นนิ่ง คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    #3 อีเลิร์นนิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับอีเลิร์นนิ่ง เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนโดยใช้เว็บเป็นฐาน (WBI = Web-based Instruction) หรือ การเรียนรู้โดยใช้เว็บเป็นฐาน (Web-based Learning)
องค์ประกอบของ e-Learning
    1. ระบบจัดการการศึกษา (Education Management System)
    ไม่ว่าระบบใดในโลกก็ต้องมีการจัดการ เพื่อทำหน้าที่ควบคุม และประสานงาน ให้ระบบดำเนินไปอย่างถูกต้อง องค์ประกอบนี้สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ในการวางแผน กำหนดหลักสูตร ตารางเวลา แผนด้านบุคลากร แผนงานบริการ แผนด้านงบประมาณ แผนอุปกรณ์เครือข่าย แผนประเมินผลการดำเนินงาน และทำให้แผนทั้งหมด ดำเนินไปอย่างถูกต้อง รวมถึงการประเมิน และตรวจสอบ กระบวนการต่าง ๆ ในระบบ และนำหาแนวทางแก้ไข เพื่อให้ระบบดำเนินต่อไปด้วยดี และไม่หยุดชะงัก
          2. เนื้อหารายวิชา เป็นบท และเป็นขั้นตอน (Contents)
    หน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สอนคือ การเขียนคำอธิบายรายวิชา วางแผนการสอน ให้เหมาะสมกับเวลา ตรงกับความต้องการของสังคม สร้างสื่อการสอนที่เหมาะสม แยกบทเรียนเป็นบท มีการมอบหมายงานเมื่อจบบทเรียน และทำสรุปเนื้อหาไว้ตอนท้ายของแต่ละบท พร้อมแนะนำแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมให้ไปศึกษาค้นคว้า
          3. สามารถสื่อสารระหว่างผู้เรียน และผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (Communication)
    ทุกคนในชั้นเรียนสามารถติดต่อสื่อสารกัน เพื่อหาข้อมูล ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือตอบข้อซักถาม เพื่อให้การศึกษาได้ประสิทธิผลสูงสุด สื่อที่ใช้อาจเป็น E-mail, โทรศัพท์, Chat board, WWW board หรือ ICQ เป็นต้น
    ผู้สอนสามารถตรวจงานของผู้เรียน พร้อมแสดงความคิดเห็นต่องานของผู้เรียน อย่างสม่ำเสมอ และเปิดเผยผลการตรวจงาน เพื่อให้ทุกคนทราบว่า งานแต่ละแบบมีจุดบกพร่องอย่างไร เมื่อแต่ละคนทราบจุดบกพร่องของตน จะสามารถกลับไปปรับปรุงตัว หรืออ่านเรื่องใดเพิ่มเติมเป็นพิเศษได้
   4. วัดผลการเรียน (Evaluation)
    งานที่อาจารย์มอบหมาย หรือแบบฝึกหัดท้ายบท จะทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ และเข้าใจเนื้อหาวิชามากขึ้น จนสามารถนำไปประยุกต์ แก้ปัญหาในอนาคตได้ แต่การจะผ่านวิชาใดไป จะต้องมีเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อวัดผลการเรียน ซึ่งเป็นการรับรองว่าผู้เรียนผ่านเกณฑ์ จากสถาบันใด ถ้าไม่มีการสอบก็บอกไม่ได้ว่าผ่านหรือไม่ เพียงแต่เข้าเรียนอย่างเดียว จะไม่ได้รับความเชื่อถือมากพอ เพราะเรียนอย่างเดียว ผู้สอนอาจสอนดี สอนเก่ง สื่อการสอนยอดเยี่ยม แต่ผู้เรียนนั่งหลับ หรือโดดเรียน ก็ไม่สามารถนำการรับรองว่าเข้าเรียนนั้น ได้มาตรฐาน เพราะผ่านการอบรม มิใช่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจากการสอบ ดังนั้นการวัดผลการเรียน จึงเป็นการสร้างมาตรฐาน ที่จะนำ
    ผลการสอบไปใช้งานได้ ดังนั้น E-learning ที่ดีควรมีการสอบ ว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่

ที่มา http://km.rubber.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=4213:-e-learning-&catid=80:learning-organization-lo&Itemid=195
      15/02/2556

อีเมล (e-Mail)


ความหมายและส่วนประกอบของอีเมล

(เวลา 50 นาที)
               
             อีเมล (e-Mail) คือ จดหมายอิเลคทรอนิกส์ ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การใช้งานโดยพิมพ์ข้อความ จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง ส่วนประกอบของอีเมลแอดเดรส ประกอบด้วย ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อองค์กร เครื่องหมาย @ ( at) อ่านว่า แอท  และโดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ เพื่ออ้างถึงเมลเซิร์ฟเวอร์ ส่วนสุดท้ายเป็นรหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ ในที่นี้คือ .co.th โดยที่ .co หมายถึง commercial เป็นบริการเกี่ยวกับการค้า ส่วน .th หมายถึง Thailand อยู่ในประเทศไทย
                    ส่วนประกอบของอีเมล จะใช้ในลักษณะของ  MIME อินเทอร์เน็ตอีเมล ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักแยกจากกัน คือ
  1.   ส่วนหัว Header e-mail ส่วนหัวของอีเมล กำหนดตามมาตรฐาน RFC 2822 โดยทั่วไปส่วนหัวประกอบด้วยข้อความและตามด้วยเครื่องหมาย ":" และตามด้วยข้อมูล ในแต่ละข้อมูลจะประกอบไปด้วยอย่างน้อย 4 หัวข้อ ได้แก่
1.1 จาก : ที่อยู่อีเมลผู้ส่ง และอาจจะประกอบด้วย ชื่อและนามสกุล
1.2  ถึง : ที่อยู่อีเมลผู้รับ และอาจจะประกอบด้วย ชื่อและนามสกุล สามารถมีได้มากกว่า 1 คน แยกกันด้วย เครื่องหมาย ","
1.3  หัวข้อเรื่อง : สรุปเนื้อความของข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถเข้าใจเนื้อหาของข้อความคร่าวๆ
1.4 สำเนา (Cc, Carbon copy)ใช้สำหรับในการส่งข้อความเดียวกันให้คนอื่น (ที่ใช้เครื่องพิมพ์ดีด กระดาษคาร์บอน ใช้ซ้อนในการพิมพ์จดหมาย)
2.  ส่วนเนื้อความของอีเมลเป็นเนื้อหาที่ต้องการสื่อสาร ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ และอาจแนบไฟล์ไปกับเนื้อหาได้ด้วยการแบ่ง MIME แบบ multipart
โครงสร้างและรูปแบบของชื่ออีเมล์ในเบื้องต้น
ถ้าใครได้เคยเห็นรูปแบบ และชื่อของอีเมล์มาบ้างแล้ว ลองมาทำความเข้าใจกับ ระบบการตั้งชื่ออีเมล์กันก่อน สมมติว่าใครคนหนึ่ง บอกอีเมล์ของเขามาว่า somchai@hotmail.com (อ่านออกเสียงว่า สมชาย-แอต-ฮอทเมล์ ดอทคอม)เครื่องหมาย @ จะออกเสียงว่า "แอต"ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ใช้คั่นอยู่ระหว่าง ชื่อและ server ของอีเมล์นั้น ๆเสมอ ชื่อของ server ที่ลงท้ายนี้ อาจจะเปลี่ยนไปได้ตามชื่อของ server ที่เปิดให้บริการอีเมล์นั้น ๆ ด้วยเช่น อาจจะลงท้ายด้วย @yahoo.com @thailand.com @mail.com หรืออะไรก็ได้ครับ ที่มีเปิดให้บริการ  
 คำศัพท์ที่เกี่ยวกับอีเมล
e-mail = Electronic mail คือ จดหมายอิเลคทรอนิคส์ที่ร่อนส่งกันไปมาในอินเตอร์เน็ต
e-mail Address คือ ที่อยู่ทางอีเมล์ คล้าย ๆ กับที่อยู่ที่คุณจ่าหน้าบนซองจดหมายทั่ว ๆ ไป
Inbox หมายถึง กล่องหรือที่สำหรับเก็บอีเมล์ ที่มีผู้ส่งเข้ามา
Outbox หมายถึง กล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่กำลังจะส่งออกไปหาผู้อื่น
Sent Items หมายถึง กล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่เราได้เคยส่งออกไปหาผู้อื่นแล้ว
Delete Items หมายถึง กล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่ได้ทำการลบทิ้งจาก Inbox แต่ยังเก็บสำรองไว้อยู่
Drafts หมายถึงกล่อง หรือที่เก็บอีเมล์ สำหรับใช้เก็บอีเมล์ต่าง ๆ ชั่วคราว ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้
Compose หรือ New Mail จะเป็นการส่งอีเมล์ใหม่ ไปหาผู้อื่น
Subject หมายถึง หัวข้อของอีเมล์ที่เราจะเขียนหรือส่งออกไป
Attach หมายถึง การแนบไฟล์เอกสาร หรือโปรแกรมต่าง ๆ ไปกับอีเมล์ฉบับนั้น
Address Book หมายถึง สมุดรายชื่อของอีเมล์ต่าง ๆ ที่เราสามารถเก็บไว้ เพื่อให้นำมาใช้งานได้ง่ายขึ้น
Cc: (Carbon Copy) เป็นการส่ง mail ให้กับผู้รับหลาย ๆ คน โดยที่ทุกคนทราบว่า จดหมายฉบับนี้ี้ถูกทำสำเนา เพื่อที่จะส่งให้ผู้รับหลายคน
Bcc: (Blind Carbon Copy) เป็นการส่ง mail ให้กับผู้รับหลาย ๆ คนโดยที่ทุกคนไม่ทราบว่า จดหมายฉบับนี้ถูกทำสำเนาเพื่อที่จะส่งให้ผู้รับหลายคน
Reply หมายถึง การส่งตอบจดหมายกลับไปยังผู้ส่ง
Forward หมายถึง ส่งไปทั้งต้นฉบับ


ที่มา http://www.upload.khukhan.ac.th/email.html
      15/02/2556

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิทยาศาสตร์ปฐมศึกษา บำบัดด้วยสัตว์


วิทยาศาสตร์ปฐมศึกษา
บำบัดด้วยสัตว์ - Inspirations : Animal Healers  
                    ในตอนนี้เราจะศึกษาเทคนิคการสอนของโรงเรียนกรีน ชิมนีย์ ในนิวยอร์ค ที่ให้เด็ก ๆ เรียนรู้ควบคู่ไปกับการพักฟื้นชีวิตของสัตว์ต่าง ๆ กรีนชิมนีย์ เป็นโรงเรียนพิเศษ อยู่ห่างจากนิวยอร์คไป 65 ไมล์ จัดหลักสูตรการเรียนการสอนโดยผ่านการเรียนรู้ทางอารมณ์ พฤติกรรม และสังคม ที่เน้นเรื่องการสร้างลักษณะประเพณี และอุปนิสัยพื้นฐานของมนุษย์ ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก ๆ กับสัตว์ เป็นพลังหลักของการใช้ศิลปะการบำบัด ในพื้นที่ทั้งหมดของกรีน ชิมนีย์ นอกจากจะใช้พื้นที่สำหรับสอนหนังสือแล้ว กรีน ชิมนีย์ ยังเป็นสถานพักฟื้นสำหรับสัตว์ด้วย ในบริเวณ 165 เอเคอร์ กับสัตว์ในฟาร์มจำนวน 200 ตัว รวมทั้งศูนย์พักฟื้นสัตว์ป่าอีก 1 แห่ง ชั้นเรียนการฝึกช่วยเหลือสุนัข เป็นตัวอย่างหนึ่งของการประกอบกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตประจำวัน สุนัขจะได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ขณะที่คนฝึก คือเด็กนักเรียนก็จะได้เรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกับสิ่งมีชิวิตอื่น ๆ ที่ศูนย์พักฟื้นสัตว์ป่า เด็ก ๆได้ช่วยปล่อยเหยี่ยวหางแดงกลับคืนสู่ป่า พวกเขาได้เรียนรู้ว่า เหยี่ยวตัวนั้นก็เหมือนนกตัวอื่น ๆ ที่วันหนึ่งจะได้รับการรักษาและส่งกลับไปยังบ้านของพวกมัน       
 

วิเคราะห์

การเรียนการสอนในเรื่อง "บำบัดด้วยสัตว์" ทำให้ได้รับประโยชน์ทั้งนักเรียน และสัตว์ทำให้นักเรียนได้รับความอบอุ่น มีความเมตตา และมีความรักกับสัตว์ที่ตัวเองได้ใกล้ชิด จะทำให้นักเรียนมีความอ่อนโยน เข้าใจผู้อื่น สามารถปรับตัวในสังคมได้ เข้ากับเพื่อนได้รู้จักการอดทน การรอคอย รู้จักการเห็นอกเห็นใจกับสัตว์ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมโลกเหมือนกัน และจะได้เรียนรู้ถึงนิสัยใจคอของสัตว์ การรักษาความสะอาด ทั้งของสัตว์ และของตนเอง ได้รู้นิสัยสัตว์ว่าช่วงไหนนิสัยเป็นอย่างไร ทำให้มีการปรับตัวได้ ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งนักเรียน และสัตว์ด้วย


ที่มา  http://www.thaiteachers.tv/
        07/02/2556

การจัดการชั้นเรียน : เมื่อเด็กปรับตัวไม่ได้


เกี่ยวกับครู
การจัดการชั้นเรียน : เมื่อเด็กปรับตัวไม่ได้ ดร.ปฤษณา ชนะวรรษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา   
                    ดร.ปฤษณา ชนะวรรษ แนะนำวิธีการที่ครูควรปฏิบัติเมื่อมีนักเรียนที่ปรับตัวไม่ได้ และต้องการความช่วยเหลืออยู่ในห้องเรียน เพื่อจัดการชั้นเรียนให้พร้อมต่อการเรียนการสอน โดยมีตัวอย่างนักเรียนใหม่ที่ยังปรับตัวเข้ากับคนอื่นไม่ได้อยู่ในห้องเรียนจากตอน "ทำอย่างไรเมื่อมูฮัมหมัดปรับตัวไม่ได้ : Every Child Matters_Muhammad's Story" ซึ่งมีพฤติกรรมทำร้ายเพื่อน และแกล้งเพื่อนที่ตั้งใจเรียน เป็นต้น




วิเคราะห์
 
ในสภาพจริงก็จะมีนักเรียนที่มีลักษณะเข้ากันชั้นเรียนไม่ได้บ้างแต่ถือว่าน้อยมากค่ะ แต่ก็เป็นปัญหาที่ท้าทายครูผู้สอน การรับชมวิดีทัศน์ตอน "เมื่อเด็กปรับตัวไม่ได้" ทำให้ได้แนวคิดและวิธีการแก้ไข เพราะปัญหานี้ต้องรีบแก้ไขไม่ใช่เช่นนั้นเขาจะกลายเป็นคนที่อาจจะล้มเหลวในชีวิต จากกรณีตัวอย่างของมูฮัมหมัดที่มีปัญหาคือลักษณะทางกายภาพที่ทำให้เห็นความต่างชาติพันธ์กับเพื่อนในห้องเรียน ทำให้มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับเพื่อน และมีแนวโน้มรังแกเพื่อนหรือแกล้งเพื่อน จากการแก้ปัญหาที่ดร.ปฤษณาแนะนำคือ การความคุ้นเคยกับนักรียนให้เกิดความเชื่อมั่นไว้วางใจ และใช้กายสัมผัสเพื่อทำให้เขารู้สึกอบอุ่นผ่อนคลาย จากนั้นก็หาเพื่อนที่อาสาสมัครดูแลเพื่อนใหม่ หรือคนที่ใจดีๆ ในห้องจะช่วยแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง จากนั้นก็ค่อยๆแก้ปัญหาตามสาเหตุหลัก ถือว่ามีประโยชน์มากค่ะในการดูแล
 จัดการชั้นเรียน


ที่มา  http://www.thaiteachers.tv/
        07/02/2556