วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของฟ้าแลบ






สถานีกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกาประมาณไว้ว่าในระยะเวลา 1 ปี ฟ้าแลบทำให้ไนโตรเจนตกลงมายังพื้นดิน 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อคิดทั้งโลกจะมีไนโตรเจนตกลงมายังโลกถึง 770 ล้านตันต่อปี

       ในระหว่างที่เกิดฟ้าแลบพลังงานบางส่วนจากฟ้าแลบจะทำให้ไนโตรเจนทำปฏิกิริยาเคมีกับออกซิเจนเกิดเป็นสารประกอบไนโตรเจนมอนอกไซด์ (NO) สารประกอบนี้มีไนโตรเจน 1 อะตอม และออกซิเจน 1 อะตอม มันจะดูดออกซิเจนอีก 1 อะตอมเพิ่มเข้าไป  และกลายเป็นไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)ซึ่งละลายได้ในน้ำฝนกลายเป็นกรดดินประสิว (HNO3)  ตกลงมายังพื้นโลก
       เมื่อกรดดินประสิวรวมตัวกับสาร  เมื่อกรดดินประสิวรวมตัวกับสารเคมีอื่น ๆ จะได้เป็นเกลือไนเตรตซึ่งเป็นอาหารที่ดีของพืช ดังนั้น ถึงคนขวัญอ่อนจะไม่ค่อยชอบฟ้าแลบนัก  แต่ก็ควรทำใจสักนิดให้ชอบสักหน่อยเพราะมีผลดีต่อชาวนาที่ผลิตพืชผักผลไม้มาให้เรากินอยู่ทุกๆ วัน


ที่มา http://www.zoneza.com/เกร็ดความรู้วิทยาศาสตร์
           01/01/2556

บาดแผลหายได้อย่างไร?


บาดแผลหายได้อย่างไร ?



ขณะที่เรากำลังใช้มีด  บางครั้งอาจจะเผลอทำมีดบาดตัวเอง  แต่ทันทีทันใดนั้น  ร่างกายของเราก็จะเริ่มซ่อมแซมบาดแผลที่เกิดขึ้นทันที  สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

 ภายในเวลาไม่กี่นาที  ปลายเส้นเลือดที่ขาดก็ถูกหยุดด้วย เกล็ดเลือด ( platelets ) และเส้นใยโปรตีนที่เรียกว่า ไฟบริน ( fibrin ) เลือดที่ออกมาอยู่ในแผลก็จะแข็งตัวกลายเป็นสะเก็ดคลุมแผลอยู่ร่างกายเริ่มส่งเลือดมายังบริเวณบาดแผลเพิ่มขึ้น  เม็ดเลือดขาวที่มากับกระแสเลือดก็จะคอยฆ่าพวกเชื้อโรคที่บุกรุกเข้ามา  คอยจับทำลายพวกเซลล์ที่ตายแล้วและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ 

ขณะเดียวกัน  เซลล์ชั้นนอกสุดของผิวหนัง ( epidermal cell ) ก็จะแบ่งตัว  
และเคลื่อนที่จากขอบแผลทั้งสองข้างเข้ามาบรรจบกันใหม่ตรงกลายภายใต้สะเก็ดเลือด  บาดแผลก็จะถูกคลุมด้วยชั้นเซลล์เหมือนเดิม  เส้นเลือดในบริเวณนั้นจะเจริญ
แทงเข้ามายังบาดแผลเพื่อนำออกซิเจนและอาหารมาเลี้ยง


ที่มา http://www.zoneza.com/วิทยาศาสตร์ น่ารู้
    01/01/2556

ทำไมรอยฟกช้ำจึงมีสีคล้ำดำเขียว ?



ทำไมรอยฟกช้ำจึงมีสีคล้ำดำเขียว


เมื่อร่างกายเราถูกกระแทกหรือถูกตีอย่างแรงที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง จะทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณนั้นแตก เลือดจะไหลซึมออกมานองอยู่ใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังปูดออก บริเวณที่เลือดไหลนองนี้อยู่ลึกถัดไปจากหนังกำพร้าชั้นใน ถ้าถูกกระแทกใหม่ ๆ จะเป็นรอยแดงจาง ๆ เมื่อผ่านวันไปจะมีสีคล้ำขึ้น การที่เราเห็นเป็นสีคล้ำเขียวก็เพราะแสงที่ส่องกระทบรอยฟกช้ำนั้นสะท้อนมาเข้าตาเรา ก่อนที่แสงจะมาเข้าตาเรา แสงจะต้องผ่านชั้นต่าง ๆ ของผิวหนัง กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณนั้นจะดูดซับแสงสีแดงไว้ ส่วนแสงสีน้ำเงินถึงแสงสีม่วงจะไม่ถูกดูดซับ เราจึงเห็นเป็นสีม่วงคล้ำบริเวณนั้น ยิ่งรอยฟกช้ำขยายตัวลึกเข้าไปมากเพียงใด แสงก็จะถูกดูดซับมากขึ้น เราก็จะยิ่งเห็นรอยฟกช้ำคล้ำมากขึ้น ร่างกายจะพยายามกำจัดเม็ดเลือดแดงหรือเม็ดเลือดขาวที่ถูกทำลายแล้ว รวมทั้งชิ้นส่วนเซลล์ที่แตกหลุดออกมา เม็ดเลือดแดงจะสลายตัวมีสีซีดลงจนเหลือง และสุดท้ายเม็ดเลือดขาวจะมากลืนกินสิ่งเหล่านี้ เพื่อทำความสะอาด ในที่สุดเนื้อเยื่อบริเวณนั้นก็จะเข้าสู่สภาพเดิม 

ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=541f8ede2319c7d7
        01/01/2556

ทำไมพริกจึงเผ็ด


จากการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์เกือบ 200 ปีมาแล้วพบว่า สารเคมีที่มีชื่อว่า “แคปไซซิน” (capsaicin) เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้พริกเผ็ด บริเวณที่พบสารแคปไซซินภายในผลพริกนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณเยื่อแกนกลางสีขาวหรือที่เรียกว่า “รกพริก” โดยส่วนของเนื้อผลพริก เปลือก และเมล็ดพริกจะมีสารแคปไซซินอยู่น้อยมาก ซึ่งต่างจากความเข้าใจของคนทั่วไปที่มักคิดว่า เมล็ดคือส่วนของพริกที่เผ็ดที่สุด ปริมาณของสารแคปไซซินจะมีความแตกต่างกันออกไป ตามชนิดและสายพันธุ์ของพริก

ที่มา  http://www.zoneza.com/
         01/01/2556

สุดยอดสิ่งมีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

GloFish

ปลาม้าลายเรืองแสงเป็น ปลาที่ไม่ได้พบเห็นในธรรมชาติ(แน่นอน) เพราะมันเกิดจากการดัดแปลงพันธุกรรม โดยนำยีนจากแมงกะพรุนหรือดอกไม้ทะเลชนิดพิเศษ ซึ่งควบคุมการสร้างโปรตีนที่เรืองแสงได้เองตามธรรมชาติใน ไปใส่ไว้ในสายของดีเอ็นเอที่ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของปลาม้าลาย จึงทำให้ปลาม้าลายซึ่งปกติมีลักษณะใสและไม่เรืองแสง เปลี่ยนแปลงลักษณะกลายไปเป็นปลาม้าลายที่เรืองแสงได้   เช่นเดียวกับ แมงกะพรุนหรือดอกไม้ทะเลที่เป็นเจ้าของดีเอ็นเอนั้นๆ โดยการทดลองนี้สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย แห่งชาติสิงคโปร์นำโดย ดร. ซีหยวน กง (Dr. Zhiyuan Gong) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ปลาม้าลายเรืองแสงเหล่านี้เป็นตัวสภาพ ความเป็นพิษของแหล่งน้ำ

ปัจจุบันมีการซื้อขายปลาม้าลาย เรืองแสงสีแดงในชื่อ โกลฟิช (GloFish) เป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม 2004โดยก่อนหน้านั้น มีการทดลองเพื่อตรวจสอบประเมินความเสี่ยงอย่างเข้มงวดเป็นเวลานานกว่า 2 ปี จนในที่สุด องค์การอาหารและยา (Food and Drug Administration, FDA) ของประเทศสหรัฐฯ ก็อนุญาตให้จำหน่ายได้ โดยระบุชัดเจนว่า “ไม่มีหลัก ฐานว่าปลาม้าลายดังกล่าวมีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าปลาม้าลายทั่วไปแต่ 

อย่างใด”


Grapple

ผลไม้นี้ก็ไม่ได้ พบเห็นในธรรมชาติ(อีกล่ะ) มาจากการดัดแปลงพันธ์กรรมโดยดัดแปลงพันธ์กรรมระหว่างแอปเปิ้ลและองุ่น ทำให้เกิดผลไม้ชนิดใหม่ที่ผลเหมือนแอปเปิ้ลแต่พื้นผิวเหมือนองุ่นและรสชาติ องุ่น  เป็นผลไม้ที่มีปริมาณวิตามินซีสูงมาก และว่ากันว่าเป็นของกินที่ถูกส่งไปช่วยโลกที่สอง ด้วยนะ ภายใต้ชื่อสินค้าว่า Grapple ซึ่ง เป็นแบรนด์ที่จดทะเบียนเชิงพาณิชย์ของฟูจิ(คงไม่ต้องถามว่าประเทศใดคิดค้น) มีอีกชื่อว่าแอปเปิ้ลกาล่า ซึ่งสาเหตุที่นำองุ่นมาใส่ตัวแอปเปิ้ลเพื่อทำให้แอปเปิ้ลมีน้ำที่มากช่วย เก็บรักษาราชาติและเนื้อได้เป้นอย่างดี


Graisin


ลูกเกดยักษ์ที่ได้ จากการดัดแปลงพันธ์กรรมเพื่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ถูกผลิตโดยสถาบันพันธุศาสตร์ในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ชอบผลไม้ใหญ่ๆ ล่าสุดนิยมผลไม้และอาหารจากตะวันตกอย่างลูกเกด เนื้อและรสชาติเหมือนกับของพ่อแม่และสามารถกินดิบๆ หรือหั่นบางๆ กินหลายมื้อได้


Umbuku Lizard


เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่ไม่มี เหตุผลหรือวัตถุประสงค์ ในการดัดแปลงพันธ์กรรม แต่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าสามารถทำได้ โดยพันธุกรรมในซิมบับเว ได้จัดการดัดแปลงให้ตุ๊กแกสัตว์พื้นเมืองที่มีขนาดเล็กและหายากในแอฟริกา โดยทำให้มันบินได้ แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า Umbuku Lizard


Fern Spider


แมงมุม เฟิร์นไม่ซ้ำกันในรายการที่เอาสัตว์และพืชมารวมกัน เป็นการดัดแปลงพันธ์กรรมโดยใช้ แมงมุมพันธุ์ในอิตาลีชื่อ Wolf spider (Lycosa tarantula) และ ponga fern (Cyathea dealbata) วัตถุประสงค์ในการผสมพันธุ์มหัศจรรย์นี้คือการศึกษาอัตราการรอดของแมงมุมใน ธรรมชาติ การทดลองนี้เป็นของ ในนิวซีแลนด์ แต่ผลการศึกษายังไม่เผยแพร่


ที่มา  http://www.unigang.com/Article/2751         01/01/2556